การให้อาหารทางสายยางนั้น เป็นการให้อาหารผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรา จะต้องได้รับสารอาหารต่างๆ จากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หากเกิดกรณีที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ อันอาจเนื่องจากการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง และมีปัญหาการกลืน ระบบทางเดินอาหารไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือผู้ป่วยที่หมดสติไม่รู้สึกตัว ก็อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลถึงการเกิดภาวะทุพโภชนาการ หรือทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนคือ โรคขาดสารอาหาร
ซึ่งโรคขาดสารอาหาร ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากเช่นกัน เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ เพราะฉะนั้นสูตรอาหารที่ออกแบบโดยนักโภชนาการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และจะต้องมีสารอาหารครบถ้วน ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทั้งนี้ในเรื่องของลักษณะอาหารที่ดี ข้อแรกเลยก็คือ อาหารจะต้องมีความสะอาด มีสัดส่วนที่พอดี มีความเข้มข้นของสารละลายที่พอเหมาะ จำนวนพลังงานของอาหารที่ผู้ป่วยควรจะได้รับ
สำหรับการจัดอาหารและให้อาหารทางสายยางที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่ง สารอาหารและความสะอาดเป็นหลัก โดยอาหารจะต้องมีสารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการทั้งประมาณและคุณภาพเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่ว่าเป็นการให้ระยะสั้นหรือในระยะยาว อาหารจะต้องมีสัดส่วนของสารอาหารหลักที่เป็นแหล่งให้พลังงานอย่างเหมาะสม คือ คาร์โบไฮเดรท ร้อยละ 50 – 55 มาจากพวกแป้งธัญพืชมากกว่าได้จากน้ำตาล โปรตีน ร้อยละ 15 – 20 ใช้โปรตีนคุณค่าสูงพวกไข่ นม ไขมัน ร้อยละ 30 – 35 ใช้ไขมันพืช แทนไขมันสัตว์ และมีปริมาณโคเลสเตอรอลต่ำ วิตามิน ที่ให้ประกอบด้วย วิตามินเอ 2 – 4 ครั้ง/วัน วิตามินซี 2000 กรัม/วัน ส่วน สังกะสี ให้ 220 มิลลิกรัม แบ่งให้ 3 ครั้ง/วัน และต้องคำนึงถึงสัดส่วนและความพอดีของอาหารด้วย นอกจากนี้อาหารจะต้องมีความเข้มข้นของสารละลาย ที่พอเหมาะ ถ้าร่างกายได้รับสารละลายที่เข้มข้นมากๆ จะเกิดอาการท้องเดินได้ ปกติของเหลวในร่างกายจะมีความเข้มข้นประมาณ 300 mOsm. ต่อกิโลกรัม ดังนั้นในกรณีที่ให้สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าควรมีการเจือจางก่อนให้ หรือควบคุมอัตราการให้อาหารให้ช้าลง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
รวมไปถึงจำนวนพลังงานที่ควรได้รับ ปกติจะให้ในอัตรา 1:1 คืออาหารเหลว 1 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 1 กิโลแคลลอรี่ บางครั้งถึง 1.2 กิโลแคลอรี่ ในรายที่ต้องการให้พลังงานเพิ่มหรือในรายที่มีข้อจำกัดปริมาณน้ำที่ได้ อาจให้อาหารที่มีความเข้มข้นสูงถึง 1.5 กิโลแคลอรี่ ต่อน้ำ 1 มิลลิลิตร แต่ต้องระวังปัญหาการขาดน้ำ และภาวะท้องเดินในผู้ป่วยด้วย
สำหรับการกำหนดจำนวนพลังงานที่ควรได้รับ มีหลักการคำนวณคือ 25 – 30 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน กรณีต้องการให้ลดน้ำหนัก 30 – 35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักที่พอเหมาะ 35 – 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มน้ำหนักในรายที่มีน้ำหนักน้อย อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยควรได้รับต่อวันให้ประมาณ 30 – 40 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แต่ถ้ามีการสูญเสียน้ำหนักมากจากการอาเจียน ท้องเดินเสียเลือดหรือมีท่อระบายควรให้เพิ่มเพื่อทดแทน อย่างไรก็ตาม ความสะอาดของอาหารในการจัดเตรียมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารไม่ให้อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ที่ควรระวัง เช่น การเตรียมอาหารโดยใช้ไข่ดิบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยท้องเสียได้
อาหารควรมีความหนืดที่พอเหมาะ ถ้าอาหารมีความหนืดมากเกินไป จะทำให้ผ่านสายได้ไม่ดีนัก หรือถ้าอาหารเหลวเกินไป จะไหลผ่านสายอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัว รู้สึกปวดเกร็งบริเวณช่องท้อง ลักษณะสุดท้ายของอาหารทางสายยางที่ดีอุณหภูมิอาหาร อาหารที่ให้ควรมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ถ้าเย็นมากเกินไป ควรอุ่น เพื่อให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนขณะให้อาหารได้ อย่าลืมว่า การให้อาหารทางสายยางนอกจากอาหารจะมีสุขลักษณะที่ดีแล้ว ตัวผู้ดูแลเองจะต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ความสามารถในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง เพราะการเกิดข้อผิดพลาดในการให้อาหารนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้ดูแลจะต้องรีบแก้ไขปัญหาทันที เพราะป้องกันการเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารนั่นเอง
ลักษณะ สูตรอาหารสายยางที่ดี ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/