ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเลือกซื้อ แผ่นซับเสียง ฉนวนกันเสียง  (อ่าน 125 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 575
    • ดูรายละเอียด
เมื่อศึกษาข้อมูลและสรุปได้ว่าต้องเลือก แผ่นซับเสียง มาใช้แก้ปัญหาเสียงแน่นอนแล้ว ลำดับต่อไปคือการเลือกซื้อแผ่นซับเสียงเพื่อมาติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการลดพลังงานเสียงลง ซึ่งการเลือกแผ่นซับเสียงก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบากมากนัก เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาไม่กี่รายการได้แก่ ราคาแผ่นซับเสียง ค่าการดูดซับเสียงที่ระบุจากโรงงานผู้ผลิต ลักษณะเสียงที่เป็นปัญหา รูปแบบหรือวิธีการติดตั้ง สีสันและความสวยงามที่จะเข้ากับพื้นที่ใช้งาน การทำความสะอาด และความปลอดภัยต่อระบบหายใจ ทั้งในกรณีที่เป็นแผ่นซับเสียงแบบที่ใช้ในโรงงานและแผ่นซับเสียงที่ใช้ในอาคารพักอาศัย


แนวทางการเลือกแผ่นซับเสียงไปใช้งาน

1. แผ่นซับเสียงแบบมีรูพรุน (Porous Absorber)
1.1) แผ่นซับเสียงชนิดพรุนแบบแข็ง
เหมาะสำหรับซับเสียงในห้องหรือพื้นที่ที่มีความถี่สูงกว่า 1 KHz ยิ่งความถี่สูงจะยิ่งซับเสียงได้ดี ไม่เหมาะจะใช้งานกับพื้นที่ที่มีความถี่ต่ำกว่า 500 Hz แผ่นซับเสียงแบบนี้ได้แก่ แผ่นยางซับเสียงความหนาแน่นสูง ฟองน้ำที่มีน้ำหนักมาก

1.2) แผ่นซับเสียงชนิดพรุนแบบให้ตัว
เหมาะกับการลดเสียงก้องที่มีความถี่ระดับกลาง หรือช่วงประมาณ 250-500 Hz แต่ซับเสียงความถี่สูงได้ไม่ค่อยดี แผ่นซับเสียงแบบนี้ได้แก่ แผ่นยางสังเคราะห์น้ำหนักเบา ฟองน้ำที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า 24 kg/m3

2. แผ่นซับเสียงแบบเฮ็ล์มโฮ้ลท์ (Helmholtz-Resonator Absorber)
แผ่นซับเสียงแบบนี้ส่วนใหญ่จะผลิตจากไม้หรือโพลียูรีเทน มีการเซาะร่องเป็นกะเปาะไว้ตรงกลาง โดยให้เส้นผ่าศูนย์กลางของรูมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่นที่มีปัญหา แผ่นซับเสียงในรูปแบบของเฮ็ล์มโฮ้ลท์ จะใช้ได้ผลดีมากในห้องหรือพื้นที่ที่มีความถี่เสียงต่ำๆ ประมาณ 125-250 Hz ปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาจำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เลือกใช้ตามความถี่ที่ตัองการ

3. แผ่นซับเสียงแบบแผ่นแข็ง (Panel Absorber)
แผ่นซับเสียงชนิดนี้มิได้ทำหน้าที่ซับเสียง หากแต่เป็นการนำไปใช้ร่วมกับแผ่นซับเสียงในข้อแรก (แผ่นซับเสียงแบบมีรูพรุน) กล่าวคือจะนำวัสดุนี้ไปกรุไว้ด้านหน้าแผ่นซับเสียงแบบรูพรุน โดยให้มีช่องว่าง (airgap) ระหว่างแผ่นเพื่อลดความเข้มเสียงก่อนที่ผ่านเข้าไปในแผ่นซับเสียงด้านหลัง วัสดุประเภทนี้ได้แก่ แผ่นซีเมนต์บอร์ด แผ่นไม้อัด แผ่นยิปซั่ม แผ่นคอมโพสิท ส่วนใหญ่แผ่นซับเสียงกลุ่มนี้จะใช้แก้ปัญหาเสียงที่มีความถี่ต่ำ 250 Hz ลงไปได้ดี

4. แผ่นซับเสียงแบบเจาะรู (Perforated-Panel Absorber)
แผ่นซับเสียงแบบเจาะรูจะใช้ร่วมกับแผ่นซับเสียงแบบรูพรุน ลักษณะการนำไปใช้งานจะเหมือนข้อที่สาม เพียงแต่แผ่นซับเสียงแบบนี้จะมีการเจาะรูมาจากโรงงาน เช่น แผ่นสแตนเลสเจาะรู แผ่นเหล็กเจาะรู หรือแผ่นยิปซั่มเจาะรู ทั้งนี้จะต้องมีแผ่นซับเสียงชนิดรูพรุน กรุอยู่ด้านในแผ่นเจาะรูเสมอ เพื่อทำหน้าที่ดูดซับเสียงซึ่งส่งผ่านแผ่นเจาะรูด้านหน้าเข้ามา แผ่นซับเสียงแบบนี้เหมาะกับความถี่กลางๆ คือ 500-800 Hz

5. แผ่นซับเสียงแบบม่าน (Curtain)
หลายกรณีที่จะพบว่าผ้าม่านก็ช่วยลดเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนได้ดีระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นผ้าม่านที่มีเนื้อผ้าหนาพอสมควร และเป็นเนื้อผ้าที่มีการทอของเส้นใยแบบไม่แน่นจนเกินไป แต่ผ้าม่านก็ไม่นิยมนำมาใช้ทดแทนแผ่นซับเสียง เนื่องจากประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงยากที่จะคาดเดา ขึ้นอยู่กับความหนาผ้า ลายทอ ขนาดของผ้าม่านในห้องหรือพื้นที่กำเนิดเสียง แต่สำหรับห้องประชุมที่ไม่ได้ใช้เครื่องขยายเสียง ผ้าม่านจะทำหน้าที่แผ่นซับเสียงได้ดีจนเป็นที่พึงพอใจระดับหนึ่ง

6. แผ่นซับเสียงแบบฟองน้ำยอดแหลม (Anechoic Wedges)
แผ่นซับเสียงแบบนี้รวมไปถึง ฟองน้ำรังไข่ ฟองน้ำสามเหลี่ยมยอดตัด ฟองน้ำสามเหลี่ยมปลายแหลม ข้อดีคือลดเสียงก้องเสียงสะท้อนที่เกิดจากการสนทนา หรือเสียงเครื่องจักรที่มีพลังานเสียงไม่มากนัก แต่มีความถี่เสียงรบกวนตั้งแต่ 250 Hz ขึ้นไปได้ดี แผ่นซับเสียงแบบนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย ติดตั้งสะดวกเพราะแค่ทากาว แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อย เช่น ในตู้ครอบลดเสียงเครื่องจักร ในท่อระบายลมร้อน พื้นที่ห้องคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น


วิธีเลือกซื้อ แผ่นซับเสียง ฉนวนกันเสียง  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บ google ฟรี