ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน สัญญาณอันตรายของการสูญเสียขา  (อ่าน 90 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 575
    • ดูรายละเอียด
โรคเบาหวาน สัญญาณอันตรายของการสูญเสียขา

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหนึ่งของการปวดขา

เรามักเข้าใจกันว่าอาการปวดน่อง ปวดขา หรือปวดบริเวณเท้า เกิดจากสาเหตุของโรคในระบบกระดูกและข้อ หรือโรคของระบบบริเวณประสาท และบางคนคิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ

  …จริงแล้ว… อาการปวดน่อง ปวดขา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานเป็นอาการเตือนที่สำคัญ ที่บอกว่าท่านเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีนตัน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเวลาที่เดินหรือออกกำาลังกาย หากไม่ดูแลและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านต้องสูญเสียขาในอนาคต


โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน

หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว หลอดเลือดก็จะเหมือนท่อประปา เมื่อใช้งานไปนานๆจะมีตะกรันเกิดขึ้นในท่อน้ำ เมื่อมีการสะสมนานวันและมากขึ้นก็จะทำให้ขนาดของท่อประปาแคบลง น้ำที่เคยไหลได้ดีก็จะเปลี่ยนเป็นไหลกะปริดกะปรอย ตะกรันในท่อประปาที่ว่าก็คือ ลิ่มไขมันในหลอดเลือด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการสะสมของลิ่มไขมันและหินปูนแคลเซียมตามผนังหลอดเลือดมากขึ้น และเกิดมีการตีบตันในที่สุด ทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ขาได้เพียงพอ จึงทำให้มีอาการเจ็บหรือปวดขาเวลาที่เดิน

สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน

    โรคเบาหวาน
    สูบบุหรี่
    ระดับไขมันในเลือดสูง
    ความดันโลหิตสูง
    อายุมาก (40 ขึ้นไป)
    ขาดการออกกำลังกาย
    มีประวัติญาติหรือบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือด
    การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก กุ้ง

อาการ

    ปวดขา ปวดน่อง หรือปวดเท้า โดยเฉพาะเวลาเดินหรือออกกำลังกาย
    เท้ามีอาการชา หรือสีซีด คล้ำลง (เหมือนขาดเลือด) ในบางรายอาจมีอาการเย็นที่เท้า
    แผลที่เท้า หรือนิ้วท้าที่รักษายาก หายช้า มักพบในผู้ที่มีโรคเบาหวานประจำตัว บางครั้งแผลลุกลามจนเกิดเน่า เกิดแผลเนื้อตายจนไม่สามารถรักษาได้ สุดท้ายเกิดการติดเชื้อ และต้องสูญเสียขา โดยการตัดขา


เราจะตรวจโรคนี้ได้อย่างไร

การวินิจฉัยโรคนี้มีหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ทั่วโลกและเป็นวิธีที่สะดวก ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ความแม่นยำสูง และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บ คือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ABI

ABI (Ankle-Branchial Index)

    การตรวขด้วยเครื่อง ABI คือ การวัดความดันของหลอดเลือดแดงที่แขน เปรียบเทียบกับข้อเท้า ค่าที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าการไหลเวียนของกระแสเลือดทั่วร่างกายนั้นมีแรงดันเท่ากันหรือไม่
    ในกรณีของคนปกติ ค่าที่ออกมาจะเท่ากับ 1.0 หรือมากกว่า คือ การไหลเวียนของประแสเลือดเท่ากันทั่วร่างกาย
    ในกรณีผิดปกติ ค่าออกมาจะน้อยกว่า 1.0 และจะผิดปกติรุนแรงกมากขึ้นถ้าค่าต่ำกว่า 1.0 มากๆ เช่น 0.4 รุนแรงกว่า 0.7
    ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับระยะเวลาในการวินิจฉัย คือยิ่งคุณทราบว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันเร็ว ความรุนแรงของโรคมักจะน้อยกว่าเมื่อทราบภายหลัง และแพทย์จะสามารถรักษาโรคของคุณได้ง่ายและเร็วขึ้น

การป้องกัน

    หยุดสูบบุหรี่
    ควบคุมเบาหวาน ไขมัน และความดันโลหิต
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน

วิธีการป้องกัน

    รับประทานยาละลายเกล็ดเลือดและยาขยายหลอดเลือดที่ขา ร่วมกับการออกกำลังกาย
    การผ่าตัดบายพาส เพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือด วิธีนี้วิธีใช้กับผ้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงมาก ผู้ป่วยได้รับการวางยาสลบและไม่รู้สึกตัวระหว่างการรักษา หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลผ่าตัด และใช้เวลาในการพักฟื้นนาน
    การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด (Stent) เป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยกว่า โดยแพทย์ใช้เครื่องมือที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มม. สอดผ่านเข้าทางหลอดเลือดเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยรู้ตัวตลอดการรักษา สามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น และได้ผลในการรักษาเช่นเดียวกัน

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บ google ฟรี