โรคไตเรื้อรังเรียกว่าเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย เพราะเป็นโรคที่มีความชุกเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยอย่างมาก
ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมโรคไตนั้นบอกว่าในปี พ.ศ.2558 มีผู้ป่วย 75,000 ราย หรือ 1,198 รายต่อประชากร 1 ล้านคนที่ต้องฟอกเลือด ฟอกไตทางช่องท้อง และปลูกถ่ายไตแต่รู้หรือไม่ว่า “โรคไตเสื่อม” ก็มีความรุนแรงไม่แพ้กัน
รู้จัก “ไต” อีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่มักถูกละเลย
ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วขนาดประมาณ 10-11 ซม. อยู่ด้านซ้ายและขวาบริเวณช่องท้องส่วนเอว และมีหน้าที่หลัก คือ
- ผลิตเม็ดเลือดแดงให้ร่างกาย นั่นทำให้คนที่ไตเสื่อมจะมีผิวซีดหรือคล้ำกว่าปกติ เพราะไตผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง
- ผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันในร่างกาย คนที่มีปัญหาไตเสื่อมมักจะความดันโลหิตสูงเพราะไตผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันได้ไม่ดีเหมือนเดิม
- ไตช่วยขับถ่ายของเสีย น้ำและสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ คนที่มีปัญหาไตเสื่อมมักมีระดับไขมันในเลือดสูง
อาการแบบนี้…คือสัญญาณของ “ไตเสื่อม”
โรคไตเสื่อม คือการที่ไตเสื่อมการทำงานลงอย่างช้าๆและมีการสูญเสียเนื้อไต และมักจะแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น อาการที่สังเกตได้มีดังนี้
- ผิวหนังมีสีซีดหรือคล้ำขึ้น อาจมีอาการคันด้วย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี
- ปวดหัวง่าย จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
- ปัสสาวะสีแดงหรือเข้มขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหลับไม่สนิทหรือนอนไม่ค่อยหลับ
- กล้ามเนื้อกระตุก ปวดตามตัว ปลายเท้าและปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริวและชัก
- หากไตวายมาก จะมีการคั่งของเกลือและน้ำ ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ทั้งนี้ ไตเสื่อมนั้นไม่เลือกว่าจะเกิดกับวัยไหน เพราะส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ฉะนั้นหากมีอาการอย่างที่กล่าวมาแล้วล่ะก็ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่าไตของเรายังแข็งแรงและทำงานได้ปกติหรือไม่
“โรคไตเสื่อม” โรคนี้รุนแรงแค่ไหน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298